วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มงคล ๓๘ ประการ

          มงคลสูตร (ฟัง) เป็นพระสูตรหรือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา[1] ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อตอบข้อสงสัยของมนุษย์และเทวดา[2] โดยพระสูตรบทนี้ถือว่าเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพราะมีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธ มงคลภายนอก ที่นับถือเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมงคล หรือมีมงคล โดยอธิบายว่าในทัศนะพระพุทธศาสนานั้น มงคลของมนุษย์และเทวดาย่อมเกิดจากการกระทำอันได้แก่ มงคลภายใน คือต้องกระทำความดี และความดีนั้นจะเป็นสิ่งที่เรียกว่ามงคลเองโดยไม่ต้องไปอ้อนวอนกราบไหว้ขอมงคลจากนอกตัว เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาในพระสูตรแล้วแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธมงคลภายนอกโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นจุดเด่นในพระพุทธศาสนา
ประวัติ
         ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายความโดยพิศดารถึงสาเหตุของการที่พระพุทธเจ้าตรัสมงคลสูตรไว้ว่า ประมาณ 12 ปีก่อนพุทธกาล ประชาชนต่างตื่นตัวว่า อะไรคือเหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นมงคล กล่าวว่า บ้างก็ว่า การมีสิ่งของ เช่นต้นไม้ สัตว์ หรือว่ารูปเคารพต่าง ๆ จะทำให้ชีวิตเป็นมงคล[3] เรื่องราวการอภิปรายเรื่องมงคล ก็ไปถึงภุมเทวา คือเทวาดาในระดับพื้นดิน เทวดาก็สนทนากันว่าอะไรคือมงคล ประเด็นนี้ก็ลุกลามไปถึงอากาศเทวา ไปถึงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลกชั้นสูธาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ของมนุษย์ที่บรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีแล้ว มีความเข้าใจในเรื่องมงคลชีวิตเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถอธิบายได้ จึงได้ประกาศให้เทวดาทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาตรัสรู้ธรรมในอีก 12 ปี ให้ไปถามพระพุทธองค์ในตอนนั้น
         เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคลสูตร ซึ่งมีทั้งหมด 38 ประการดังกล่าว แก้แล้ว

เนื้อหาในพระสูตร
             ตามเนื้อหาในพระสูตร มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง ซึ่งมีอยู่ 38 ประการ ดังนี้
  1. ไม่คบคนพาล
  2. คบบัณฑิต
  3. บูชาคนที่ควรบูชา
  4. อยู่ในปฏิรูปเทศ อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี
  5. ได้ทำความดีให้พร้อมไว้แต่ก่อน
  6. ตั้งตนไว้ชอบ
  7. เล่าเรียนศึกษามาก
  8. มีศิลปวิทยา
  9. มีระเบียบวินัย
  10. วาจาสุภาษิต
  11. บำรุงมารดาบิดา
  12. สงเคราะห์บุตร
  13. สงเคราะห์ภรรยา
  14. การงานไม่อากูล
  15. รู้จักให้
  16. ประพฤติธรรม
  17. สงเคราะห์ญาติ
  18. การงานไม่มีโทษ
  19. เว้นจากความชั่ว
  20. เว้นจากาการดื่มน้ำเมา
  21. ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
  22. ความเคารพ
  23. ความสุภาพอ่อนน้อม
  24. ความสันโดษ
  25. มีความกตัญญู
  26. ฟังธรรมตามกาล
  27. ความอดทน
  28. เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
  29. พบเห็นสมณะ
  30. สนทนาธรรมตามกาล
  31. มีความเพียรเผากิเลส
  32. ประพฤติพรหมจรรย์
  33. เห็นอริยสัจจ์
  34. ทำพระนิพพานให้แจ้ง
  35. ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
  36. จิตไร้เศร้า
  37. จิตปราศจากธุลี
  38. จิตเกษม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น